emon

free counters

ความเป็นมาของการฟ้อนและเซิ้ง

| |

ความเป็นมาของการฟ้อนและเซิ้ง

ดินแดนภาคอีสานร่ำรวยไปด้วยแหล่งอารยธรรม โบราณคดีหลากหลาย วิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในแถบนี้ มีแบบอย่างผสมกลมกลืนกันทั้งความเชื่อที่มาจากศาสนาพ ุทธ ฮินดู ภูติผีวิญญาณ ความเชื่อดังกล่าวเป็นคติความเชื่อที่มีความหมายต่อก ารดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งในระดับครอบครัว ระดับหมู่บ้านและระดับรัฐ จากข้อมูลท้องถิ่นด้านภาษา วรรณกรรม พิธีกรรม ตลอดจนแบบแผนในการดำรงชีวิตของชาวอีสาน โดยเฉพาะหลักฐานทางพุทธศาสนาไม่สามารถสนองตอบความต้อ งการทางใจ หรือสามารถเป็นที่พึ่งทางใจได้ในขณะที่เกิดภัยพิบัติ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ความแห้งแล้งอย่างสาหัส หนือเหน็บหนาวในหน้าเก็บเกี่ยว ชาวอีสานจึงหันไปพึ่งพาเทวดา ฟ้าดิน ภูติผี วิญญาณ อันได้แก่ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ตา ผีตาแฮก ตลอดจนผีมเหสักข์หลักเมืองแทน มูลเหตุแห่งความเชื่อว่า ธรรมชาติทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ผืนน้ำ พืช สัตว์ มนุษย์ อุบัติขึ้นในโลกด้วยอำนาจแห่งผีฟ้าหรือผีแถน ซึ่งในพงศาวดารล้านช้างกล่าวถึงชนกลุ่มแรกที่ออกมาจา กน้ำเต้าปุ้งว่าขุนทั้งสามคือ ปู่ลางเชิง ขุนเค็ก ขุนคาน ขออนุญาตต่อแถนเพื่อลากลับมาอยู่เมืองมนุษย์ตามเดิมโ ดยอ้างว่า "ข่อยนี้อยู่เมืองบน ก็บ่แก่น แล่นเมืองฟ้าก็บ่เป็น" พระยาแถนจึงอนุมัติให้อพยพลงมาอยู่ "นาบ่อนน้อยอ้อยหนู" และให้ควายลงมาไถนาด้วย ต่อมาควายตัวนี้ตายลงจึงเกิดเป็นต้นน้ำเต้าขึ้นที่ซา กของควายมีผลน้ำเต้าใหญ่มากผลหนึ่ง (ชาวอีสานเรียกว่า น้ำเต้าปุ้ง) เมื่อผลน้ำเต้านั้นโตเต็มที่ก็ได้ยินเสียงคนอยู่ในนั ้นเป็นจำนวนมากขุนทั้งสามจึงเอาเหล็กชีแดงเจาะรูเพื่อให้คนออกมา 2 รู คือ พวกไทยลมกับไทยผิวเนื้อดำคล้ำ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพวกข่า ขอม เขมรและมอญ แต่ยังมีคนเหลืออยู่ในน้ำเต้าปุ้งอีกขุนทั้งสามจึงหา สิ่วมาเจาะใหม่อีก 3 รู พวกที่ออกมารุ่นหลังนี้ไม่ถูกรมควันจากเหล็กชีจึงมีผ ิวกายขาวกว่าได้แก่ ไทยเลิง ไทยลอ ไทยคราว ซึ่งกลายมาเป็นบรรพบุรุษของคนลาว คนไทย คนญวณ ในภายหลัง จึงปรากฏในฮีตคองว่า

การฟ้อนรำพื้นบ้านอีสาน




กระติบข้าว หรือภาษาอีสานบางแห่งเรียกว่าก่องข้าว เป็นภาชนะใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียว ที่ทรงคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบหรือก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ (ต่างจากกระติกน้ำแข็งที่เก็บความร้อนได้แต่ไม่ยอมให้ไอน้ำระเหยออก ข้าวเหนียวจึงเปียกแฉะ)ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่การสานกระติบเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีตาห่างเล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวผ่านช่องว่างภายในกระติบข้าวชั้นในได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่าเพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบข้าว ยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ จึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่ ฝาปิดและตัวกระติบ จะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อยให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรอง ขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายหรือไนล่อนให้ติดกับตัวกระติบ


กระติบข้าว หรือภาษาอีสานบางแห่งเรียกว่าก่องข้าว เป็นภาชนะใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียว ที่ทรงคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบหรือก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ (ต่างจากกระติกน้ำแข็งที่เก็บความร้อนได้แต่ไม่ยอมให้ไอน้ำระเหยออก ข้าวเหนียวจึงเปียกแฉะ)ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่การสานกระติบเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีตาห่างเล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวผ่านช่องว่างภายในกระติบข้าวชั้นในได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่าเพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบข้าว ยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ จึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่ ฝาปิดและตัวกระติบ จะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อยให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรอง ขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายหรือไนล่อนให้ติดกับตัวกระติบ


คุณค่าของการฟ้อนพื้นเมืองคุณค่าทางด้านร่างกาย (Physical Values)การฟ้อนรำเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง เพราะการฟ้อนรำเป็นกิจกรรมของการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ลำตัว แขน ขาและมือ ให้ประสานเข้ากับจังหวะดนตรี การฝึกหัดการฟ้อนรำจึงช่วยการปรับปรุงทักษะของการเคล ื่อนไหว การทรงตัว ทำให้ได้ออกกำลังกล้ามเนื้อ และถ้าฝึกหัดจนเกิดความชำนาญแล้วก็สามารถควบคุมอวัยว ะทุกส่วนให้ประสานงานกันอย่างกลมกลืน ซึ่งหมายถึงการฟ้อนได้อย่างสวยงาม คุณค่าทางสังคม (Social Values)การฟ้อนเป็นกิจกรรมร่วมกันของชุมชน การได้ร่วมกันฟ้อนเช่นในงานบุญต่างๆ จะก่อให้เกิดความเป็นมิตร ซึ่งส่งผลให้เกิดความสงบสุขในชุมชน คุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural Values)การฟ้อนรำเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นเครื่องแสดงความเป็นอารยชาติ ชาติใดไม่มีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ชาตินั้นก็จะได้ชื่อว่าไม่มีความเจริญเป็นของตนเอง นอกจากนั้นศิลปวัฒนธรรมยังเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเกิดความภาคภูมิใจของชนในชาติ คุณค่าทางนันทนาการ (Recreational Values)การฟ้อนรำจะทำให้ได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของอารมณ์ หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน ดังนั้นชาวอีสานจึงนิยมจัดให้มีการฟ้อนรำหรือการละเล ่นเพื่อความสนุกสนานหลังจากการทำงานหรือในหลังฤดูการ เก็บเกี่ยว


ที่มา http://vdo.palungjit.com/video/87859/ลำเซิงใหม่mp4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น