emon

free counters

วงโปงลางทายาทอิสาน

| | 0 ความคิดเห็น

ขนบธรรมเนียมประเพณีอิสาน5

| | 0 ความคิดเห็น

งานมหกรรมโปงลาง แพรวากาฬสินธุ์

ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์-๖ มีนาคม ของทุกปีความสำคัญโปงลาง ถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งนี้เพราะโปงลางได้เปลี่ยนสภาพจากขอลอหรือเกราะลอ มาเป็นเครื่องดนตรีธรรมชาติประเภทเครื่องตีไม้ โดยปราชญ์ชาวบ้านของจังหวัดกาฬสินธุ์คื
อ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ได้พัฒนาจนกลายมาเป็นเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่ง บรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานชิ้นอื่น ๆ จนเกิดเป็นวงดนตรีโปงลาง มีการคิดท่าฟ้อนประกอบลายโปงลางรวมทั้งการแสดงต่าง ๆ ที่ดัดแปลงมาจากวิถีชีวิตธรรมชาติของคนชนบทอีสาน จนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไปเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงโปงลางที่วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ทรงร่วมวงโปงลาง บรรเลงลายเต้ยโขงและลายลมพัดพร้าว ที่พลิ้วหวานจับใจ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถือเอาวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันเริ่มงานมหกรรมโปงลาง แพรวาและกาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์สืบต่อกันมาสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในฐานะผู้รับผิดชอบงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดให้มีการประกวดวงดนตรีและการแสดงโปงลาง โดยแบ่งประเภทวงออกเป็น ๓ ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับประชาชน โดยจัดให้มีการประกวดในช่วงเวลาของงานเทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่นี้คือ งานมหกรรมประกวดดนตรีโปงลาง งานเทศกาลผ้าไหมแพรวา ที่เป็นสุดยอดของดีเอกลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ อีกทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีโปงลางระดับประชาชน ถ้วยรางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษา พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี และถ้วยรางวัลชนะเลิศระดับประถมศึกษาจากเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จากปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นมา นับว่าเป็นปีทองของดนตรีโปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์เพราะดนตรีโปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดและประเทศไทย โดยได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดดนตรีพื้นเมืองนานาชาติ ระดับมัธยมศึกษา ครั้งที่ ๑ ณ ประเทศตุรกี จนเป็นผลให้การแสดงดนตรีโปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป




งานประจำปี ฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล

พระยาแล คือผู้สร้างเมืองชัยภูมิช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๑๒-๒๐ มกราคม ของทุกปีลักษณะความเชื่อประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ ประมาณร้อยละ ๙๕ เป็นคนท้องถิ่นเดิมมีวัฒนธรรมประเพณีที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่นกับหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา ประกอบกับประวัติศาสต
ร์ความเป็นมาของจังหวัด มีลักษณะเด่นชัดที่เน้นและเชิดชูวีรกรรมความซื่อสัตย์กตัญญูของเจ้าพ่อพระยาแล ทำให้มีงานประจำปีและงานประเพณีซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมของจังหวัดสืบต่อกันมาความสำคัญจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของเจ้าพ่อพระยาแล ผู้สร้างเมืองชัยภูมิคนแรกพิธีกรรมจัดในช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๑๒-๒๐ มกราคมของทุกปี ในการจัดงานนี้ประกอบด้วยพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณของเจ้าพ่อพระยาแล ขบวนแห่เครื่องสักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ ขบวนถวายช้างแด่เจ้าพ่อ และขบวนแห่ของอำเภอต่าง ๆ รวมทั้งการออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยงานราชการและเอกชน การประกวดผลิตผลทางการเกษตรสาระ เป็นการเชิดชูวีรกรรมความซื่อสัตย์กตัญญูของเจ้าพ่อพระยาแล


ที่มา http://www.blogger.com/post-create.

ขนบธรรมเนียมประเพณีอิสาน4

| | 0 ความคิดเห็น

งานเทศกาลไหม และประเพณีผูกเสี่ยว

ความสำคัญงานเทศกาลไหมเป็นงานที่จังหวัดขอนแก่นได้จัดขึ้นทุกปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๒ จนถึงปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพการทอผ้าไหม มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง (ผ้าไหม) และของที่ระลึกอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการแสดงเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นประเพณีผูกเสี่ยว ก็เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นพร้อมกัน
กับงานเทศกาลไหม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คนในท้องถิ่นและคนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียว สมัครสมานสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันคำว่า "เสี่ยว" เป็นภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย มีความผูกพัน ซื่อสัตย์ และจริงใจต่อกันพิธีกรรมอุปกรณ์ที่สำคัญมีพานบายศรีอาจเป็นบายศรี ๓ ชั้น ๕ ชั้น หรือ ๗ ชั้น และมีเครื่องประกอบอีกหลายอย่าง คือ สุรา ๑ ขวด ไข่ไก่ต้ม ๑ ฟอง ข้าวต้มมัด ๔ ห่อ กล้วยสุก ๔ ผล ข้าวเหนียวนึ่ง ๑ ปั้น ใบพืชที่เป็นมงคล เช่น ใบคูน ใบเงิน ใบทอง ใบยอ ดอกรัก และที่ขาดไม่ได้คือ ฝ้ายผูกแขนเชิญแขกมงคลมาร่วมพิธี คู่เสี่ยวนั่งล้อมพานบายศรี หมอพราหมณ์เริ่มพิธีด้วยการจุดเทียนที่พานบายศรี อัญเชิญเทวดาลงมาเป็นสักขีพยาน กล่าวถึงงานบายศรีสู่ขวัญเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส มีบุตรใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ การเลื่อนยศ การผูกเสี่ยว การบวชนาค ฯลฯ แล้วกล่าวคำอัญเชิญขวัญตามโอกาส เมื่อถึงบทเชิญขวัญผู้ร่วมพิธีจะตะโกนเรียกขวัญของผู้ร่วมพิธีให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว จบแล้วหมอพราหมณ์และแขกจะนำด้วยมงคลผูกข้อมือของคู่ขวัญ พร้อมทั้งให้ศีลให้พร ให้รักใคร่สามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ต่อจากนั้นคู่ขวัญก็จะผูกข้อมือซึ่งกันและกัน เป็นอันเสร็จพิธีสาระเรียกขวัญเพื่อเป็นการเตือนสติให้รู้จักภาวะของตนเอง เช่น จะแต่งงาน บวช หรือเสี่ยว จะต้องปฏิบัติอย่างไร เชื่อกันว่า ขวัญสิงสถิตอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและจิตใจ เมื่อทำพิธีเรียกขวัญแล้วก็จะเกิดพลังกายและพลังใจที่เข้มแข็งได้



ประเพณีไหลเรือไฟ

ช่วงเวลา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ (ประมาณเดือนตุลาคม)ความสำคัญเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบทประเทศอินเดียเพื่อบูชาท้าวผกาพรหมเพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่เราทำให้สกปรกเพื่อเอาไฟเผาความทุกข์ให้หมดไปแล้วลอยไปกับแม่น้ำพิธีกรรมนำเรือไปลอยในแม่น้ำ ก่อนลอยให้กล่าวคำบูชาดังนี้อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชิง อภิปูเชนิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ที่ฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตคะตุ" แปลว่า ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระมุนีเจ้าอันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทรายแห่งแม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีป ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญสาระเปรียบเทียบให้เห็นชีวิตมนุษย์ มีเกิด มีเจริญก้าวหน้า และดับไปในที่สุดหรือ ชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจัง"



งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี

ช่วงเวลา ระหว่างวันที่ ๒๓ มีนาคม - ๓ เมษายน ของทุกปีความสำคัญเป็นงานประจำปีของจังหวัดซึ่งเริ่มขึ้นในวันที่ ๒๓ มีนาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นเวลาที่ ท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) ได้รับชัยชนะจากข้าศึก เพราะวันที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๖๙ คือวันที่เจ้าอนุวงศ์ยกทัพออกจากเมืองนครราชสีมา จึงเป็นงานประเพณีทำให้ระลึกถึงความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้น นอกจากนี้ในงานยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยราชการและภาคเอกชน รวมทั้งกิจกรรมบันเทิงที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละวันพิธีกรรมพิธีกรรมที่จัดขึ้นในงามที่จัดขึ้นในงานของท้าวสุรนารี เริ่มต้นครั้งแรกใน ปี พุทธศักราช ๒๔๗๗ มีการบวงสรวงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พิธีจุดพลุสี่มุมเมือง นอกจากนี้ในอดีตเคยมีการจัดการแสดงละครเรื่องวีรกรรมท้าวสุรนารี ให้เป็นกิจกรรมหลักของงานเพื่อให้ผู้ร่วมงานระลึกถึงความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้นสาระกิจกรรมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พลเมือง เป็นแบบอย่างให้กับพลเมืองได้ตระหนักถึงบุคคลที่ถูกยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคล


ประเพณีบุญเบิกฟ้า

ช่วงเวลา วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุก ๆ ปี (อยู่ระหว่างปลายเดือนมกราคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์)ความสำคัญประเพณีบุญเบิกฟ้า เป็นประเพณีของชาวมหาสารคามที่ประกอบขึ้นตามความเชื่อว่า เมื่อถึงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกๆ ปี ฟ้าจะเริ่มไขประตูฝน โดยจะมีเสียงฟ้าร้อง และทิศที่ฟ้าร้องเป็นสัญญาณบ่งบอกตัวกำหนดปริมาณน้ำฝนที่จะตกลงมาหล่อเลี้ยงการเกษตรในปีนั้น ๆตำนานโบราณกล่าวถึงทิศที่ฟ้าร้องว่า๑. ทิศบูรพา มีครุฑเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูน้ำ ถ้าฟ้าร้องทิศนี้ฝนจะดี ข้าวกล้าในนาจะอุดมสมบูรณ์ คนทั้งปวงจะได้ทำบุญให้ทานอย่างเต็มที่๒. ทิศอาคเนย์ มีแมวเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูลม ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะน้อย นาแล้ง คนจะอดอยาก และเกิดโรคระบาด๓. ทิศทักษิณ มีราชสีห์เป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูทอง ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะมาก น้ำจะท่วมข้าวกล้าในนาเสียหายถึงสองในห้าส่วน นาลุ่มเสีย นาดอนดี มีปูปลาอุดมสมบูรณ์๔. ทิศหรดี มีเสือเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูตะกั่วหรือประตูชิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะดี น้ำงามพอเหมาะ ผลหมากรากไม้อุดม ปูปลามีมาก ข้าวกล้าบริบูรณ์ ผู้คนมีความสุข๕. ทิศปัจจิม มีนาคเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูเหล็ก ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะแล้ง น้ำน้อย ข้าวกล้าในนาแห้งตาย เสียหายหนัก๖. ทิศพายัพ มีหนูเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูหินถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะตกปานกลาง ข้าวกล้าได้ผลกึ่งหนึ่ง เสียหายกึ่งหนึ่ง ปูปลามีน้อย คนจักป่วยไข้๗. ทิศอุดร มีช้างเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูเงิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ ฝนจะดี ข้าวกล้าในนางอกงามดี คนมีสุขทั่วหน้า๘. ทิศอีสาน มีงัวเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูดิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ ฝนจะดีตลอดปี ข้าวกล้าในนาจะงอกงามสมบูรณ์ดี คนจะมีความสุขเกษมตลอดปีอย่างถ้วนหน้าด้วยความเชื่อตามตำนานดังกล่าว ชาวมหาสารคามจึงมีประเพณีบุญเบิกฟ้า

ประเพณีการละเล่นผีตาโขน

ช่วงเวลา ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปีความสำคัญการละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านได้ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย แสดงในงาน "บุญหลวง" ซึ่งเป็นการรวมเอาบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟเป็นบุญเดียวกัน เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีตพิธีกรรมมีการจัดทำพิธี ๒ วัน คือ วันแรก (วันโฮม) ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เป็นการทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัด ในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติให้วัดเป็นเมือง สำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็นพิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด ๓ รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คนไปเรื่อย ๆ เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขนจะนำเครื่องเล่นผีตาโขน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมัน และในตอนค่ำของวันเดียวกัน จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์สาระการละเล่นผีตาโขนนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็น มีการนำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง นำมาตกแต่งเป็นหน้ากาก โดยการเจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวดให้เป็นรอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้น เพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน อุปกรณ์ในการละเล่นมี ๒ ชิ้น คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่าทำให้เกิดเสียงดังในเวลาเดิน และ "อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วนมากจะใช้ผู้ชายแสดงเนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อย ๆ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญหลวง" ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวันเปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมืองเพื่อโชว์ให้แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น
ที่มา http://www.blogger.com/post-create

ขนบธรรมเนียมประเพณีอิสาน3

| | 0 ความคิดเห็น


ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
ออกวัสสา หรือ ออกพรรษา คือวันสุดท้ายของเทศกาลเข้าพรรษา จะตรงกับวันขึ้น 15 เดือน 11 ในวันนี้ ทางสงฆ์จะจัดพิธีเรียกว่า วันมหาปวารณา แปลว่า อนุญาตหรือยอมให้พระแต่ละรูปสามารถว่ากล่าวถึงข้อที่ผิดพลาดล่วงเกินระหว่าง ที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน เทศกาลออกพรรษา มีหลายจังหวัดทางภาคอีสานที่จัดงานแห่ปราสาทผึ้งขึ้น แต่ที่นับว่าเป็นต้นตำรับและมีความยิ่งใหญ่กว่าที่ใด คือจังหวัดสกลนคร
หลายคนรู้จักคุ้นเคยกับปราสาทผึ้งดี แต่อาจจะไม่รู้ที่มา ที่มาของปราสาทผึ้งก็คือ ระหว่างที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ ปารักขิตวัน ใกล้บ้านปาริไลยยกะ (ป่าเลไลยก์) ในพรรษาที่ 9 โดยช้างปาริไลยกะกับลิงเป็นผู้อุปัฏฐาก ไม่มีมนุษย์อยู่เลย ตลอด 3 เดือน ช้างจัดน้ำ และผลไม้ถวาย ลิงนำรวงผึ้งมาถวาย เมื่อพระองค์ทรงรับแล้วก็เสวย ลิงเห็นก็ดีใจมาก ขึ้นไปจับกิ่งไม้เขย่ากิ่งไม้หักตกลงมา ตอไม้เสียบอกลิงตายไปเกิดเป็นเทพบุตรวิมาน
ครั้นถึงวันออกพรรษา พระพุทธเจ้าเสด็จสู่เมืองโกสัมพี ช้างคิดถึงพระพุทธเจ้ามาก หัวใจแตกตาย ไปเกิดเป็นเทพบุตรในวิมาน พระพุทธเจ้าทรงนึกถึงความดีของช้าง และลิง ที่เฝ้าอุปัฏฐากตลอดพรรษา 3 เดือน จึงทรงนำเอาผึ้งรวงมาเป็นดอกไม้ประดับในโครงปราสาท เป็นปราสาทที่เกิดขึ้นในจินตนาการของผู้ที่มารับ ระหว่างเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
อาจารย์ประสิทธิ์ คะเลรัมย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เล่าว่า การทำปราสาทผึ้งในอีสาน นิยมทำกันมาแต่โบราณ ด้วยเหตุผลหรือคติที่ว่า เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อตั้งความปรารถนาไว้ หากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ขอ ให้มีปราสาทสวยงาม มีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวาร เพื่อรวมพลังสามัคคีทำบุญทำกุศลร่วมกัน พบปะ สนทนากันฉันพี่น้อง เพื่อเป็นการประกาศหลักศีลธรรม ทำบุญทำกุศล
ในอดีตการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกว่า 'ต้นผึ้ง' หรือ 'ต้นเผิ่ง' ทำ โดยเอากาบของต้นกล้วยมาทำเป็นโครงจากนั้นก็ทำเอาดอกผึ้ง ที่ชาวบ้านจะนำขี้ผึ้งใส่ถ้วยหรือขัน ลงลอยในน้ำร้อนที่ตั้งไฟอ่อน ๆ ให้ขี้ผึ้งละลาย แล้วใช้ผลมะละกอดิบ มาปอกเปลือกตรงส่วนก้น ให้มีความเว้าคล้ายกลีบดอกไม้ จุ่มลงในขี้ผึ้งที่ละลายแล้ว ก่อนยกลงจุ่มในน้ำเย็น ดอกผึ้งก็จะหลุดล่อนออกมา ซึ่งทำได้หลายสีสัน โดยใช้ขี้ผึ้งสีต่างๆ กัน เช่น ขาว เหลืองอ่อน เหลืองเข้ม เหลืองแสด ฯลฯ เอาดอกผึ้งไปตกแต่งปราสาท ก็จะใช้ไม้กลัดเสียบดอกบานไม่รู้โรย วางลงตรงกลางดอกผึ้งเป็นเหมือนเกสรดอกไม้
รูปทรงของปราสาทผึ้งโบราณจะสร้าง ขึ้นจากโครงไม้ไผ่ ตกแต่งด้วยหยวกกล้วยที่แทงเป็นลวดลายหรือ รูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงตะลุ่ม ทรงหอมียอดประดับหลังคา ทรงสิมหรืออุโบสถแบบอีสาน เป็นต้น
ต่อมามีการคิดริเริ่มทำปราสาทผึ้งประยุกต์เริ่มขึ้นครั้งแรกที่ “วัดแจ้งแสงอรุณ” โดยมีพระมหาปราสาท หรือพระที่นั่งบางปะอิน เป็นต้นแบบ โครงสร้างของปราสาทผึ้งประยุกต์ ทำขึ้นด้วยไม้ แล้วหล่อขี้ผึ้งเป็นลวดลายต่างๆ ที่สวยงาม นำไปปะติดลงใน โครงปราสาท ทำให้เกิดความสวยงามในด้านศิลปะต่างจากเดิม สร้างความตื่นตาตื่นใจแกผู้ร่วมงาน นับแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเป็นมีการริเริ่มที่จะมีการทำและประกวดแข่งขันปราสาทผึ้งประยุกต์ขึ้นมา โดยให้แต่ละคุ้มวัดทำส่งเข้าประกวด มีทุนสนับสนุน จากทางผู้จัดงานส่วนหนึ่ง และได้รับจากส่วนราชการหรือประชาชนอีกส่วนหนึ่ง
การทำปราสาทผึ้ง ชาวคุ้มวัดต่างๆ ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน บริจาคเงินตามศรัทธาทำปราสาท ในตอนกลางคืนของวันขึ้น 13 ค่ำ ก่อนวันทำการ ขบวนปราสาทผึ้งชาวคุ้มต่างๆ จะนำปราสาทผึ้งของตนที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ประดับโคมไฟหลากสี มาตั้งประกวดแข่งขันกัน ณ สนามมิ่งเมืองเพื่อให้ประชาชนได้ชมความสวยงามอย่างใกล้ชิด

ส่วนเทศกาลปราสาทผึ้ง กำหนดเอาวันเทศกาลออกพรรษาเป็นวันจัดงาน วันแรกแข่งเรือ วันที่สองแห่ปราสาทผึ้ง วันที่สามทำบุญออกพรรษา กลางคืนมีการสมโภชตามสมควร ในวันออกพรรษา หลังจากที่ได้มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้าเรียบร้อยแล้ว ก็จะเริ่มจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้ง มีปราสาทผึ้งและเทพีนั่งอยู่บนรถขบวน มีการฟ้อนรำของชาวบ้านและเหล่าสาวงาม เหล่าผู้เฒ่าผู้แก่และคนหนุ่มสาวชาวคุ้มต่างๆ จะร่วมเดินในขบวน ถือธูปเทียนแห่รอบพระธาตุเชิงชุม ทำใจให้เป็นสมาธิถวายเป็นพุทธบูชา
นอกจากจะเห็นความยิ่งใหญ่ของขบวนแห่ประสาทผึ้งที่สวยงานตระการตาแล้ว ยังจะได้ชมการแสดงรำหางนกยูง การแสดงมวยไทยโบราณ การแสดงชนเผ่าย้อ ชนเผ่าลาว ชนเผ่าภูไท ชนเผ่าโย้ย กระเลิง เผ่าโล้ ซึ่งแต่ละเผ่าจะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง และจะหาดูไม่ได้ง่ายๆ แล้วในปัจจุบัน



ที่มา http://www.blogger.com/post-create.

ขนบธรรมเนียมประเพณีอิสาน2

| | 0 ความคิดเห็น

กำเนิดงานแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี

อุบลราชธานี ดินแดนแห่งปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เป็นถิ่นกำเนิดของพระอาจารย์ทางวิปัสนา คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นต้น กล่าวกันว่า เมือง อุบลราชธานีเป็นต้นรากแห่งการขยายพระพุทธศาสนาและวัดวาอาราม ให้แพร่หลายยิ่งกว่าในทุก หัวเมืองในภาคอีสาน เดิมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีจัดเฉพาะตามคุ้มวัดต่างๆ เท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2444 เมืองอุบลราชธานีจัดงานบุญบั้งไฟ โดยทุกคุ้มจะนำบั้งไฟมารวมกันที่วัดหลวง ริมแม่น้ำมูล มีการแห่บั้งไฟไปรอบเมืองและจุดขึ้นไปบนท้องฟ้าทำให้เกิดอุบัติเหตุ บั้งไฟตกลงมา ถูกชาวบ้านตายในงาน มีการชกต่อย ตีรันฟันแทงกัน ก่อเหตุวุ่นวายไปทั้งงาน กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ สมัยนั้น ให้ยกเลิกงานประเพณีบุญบั้งไฟเสีย แล้วให้มาจัดงาน ประเพณีแห่เทียนพรรษาแทน ในสมัยแรกๆ นั้นไม่มีการประกวดเทียนพรรษา แต่ชาวบ้านจะกล่าว ร่ำลือกันไปว่า เทียนคุ้มวัดนั้นงาม เทียนคุ้มวัดนี้สวย ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ จึงเห็นควรให้มีการประกวดเทียนพรรษาก่อน แล้วแห่รอบ เมือง ก่อนจะนำไปถวายพระที่วัด

จากงานประจำปีท้องถิ่นสู่งานประเพณีระดับชาติ
การจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยชาวบ้านในแต่ละคุ้มวัดก็จัดตกแต่งต้นเทียนของวัดตนให้สวยงาม นำมารวมกันที่บริเวณทุ่งศรีเมืองเพื่อประกวดแข่งขันกัน จากงานของชาวบ้านก็พัฒนามาสู่การสนับสนุนอย่างจริงจังจากส่วนราชการ พ่อค้า
ห้างร้านเอกชน ร่วมกับประชาชน ทายกทายิกาคุ้มวัดต่างๆ และใน ปี พ.ศ. 2519 จังหวัดอุบลราชธานีได้เชิญ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท. ในขณะนั้น) มาสังเกตการณ์ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาทางจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้งานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานประเพณีระดับชาติ โดยเฉพาะในปีท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand 2541-2542) งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็น 1 ในงานประเพณีที่ถูกโปรโมตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชาวต่างชาติ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนหลวงมาเป็นเทียนนำชัยขบวนแห่ แล้วจึงนำไปถวายยังอารามหลวงในจังหวัดอุบลราชธานี หมุนเวียนไปเป็นประจำทุกปี งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน

ที่มา http://www.blogger.com/post-create

ขนบธรรมเนียมประเพณีอิสาน1

| | 0 ความคิดเห็น

บุญเดือนสี่ในฮีตสิบสอง

หลายคนคงจะสงสัยอยู่ว่าคำว่า "ผะเหวด" มีความหมายอย่างไร คำว่า "ผะเหวด" นั้นเป็นการออกเสียงตามสำเนียงอีสาน มาจากคำว่า "พระเวส" หมายถึงพระเวสสันดร งานบุญผะเหวดเป็น 1 ในประเพณี 12 เดือน หรือ ฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน (การทำบุญประเพณี 12 เดือน) โดยพระเพณีนี้จะจัดขึ้นในเดือนที่ 4 ของไทยหรือเดือนมีนาคม โดยกำหนดจัดงานในวันเสาร์และอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี
ประเพณีบุญผะเหวดหรือบุญเดือนสี่นั้น สะท้อนให้เห็นถึง ความศรัทธาอันแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ซึ่งชาวอีสานยึดถือและปฏิบัติกันมาช้านานและอย่างเคร่งครัด เพราะถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ การจัดงานบุญผะเหวดนั้นอยู่ที่การเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดกหรือเทศน์มหาชาติ มีจำนวนทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยชาวอีสานมีความเชื่อว่าถ้าหากว่าฟังเทศน์ครบทั้งหมดวันเดียว และจัดเตรียมเครื่องคาย (บูชา) ได้ถูกต้อง ก็จะได้เกิดในศาสนาพระอริยเมตไตรย แต่ถ้าหากตั้งเครื่องคาย (บูชา) ไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดอาเพศและสิ่งไม่ดีต่างๆ ตามมา จึงทำให้ทุกคนในหมู่บ้าน ให้ความสำคัญกับงานนี้อย่างมาก โดยจะมาทำพิธีร่วมกันอีกประการหนึ่ง คือ เพื่อระลึกถึงพระเวสสันดร พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญเพียรบารมีชาติสุดท้ายของพระองค์ก่อนจะเสวยชาติ และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายหลัง

นอกจากการฟังเทศน์มหาชาติแล้ว ประเพณีนี้ยังได้แฝงความเชื่อหลายประการไว้ด้วย คือ ความเชื่อในเรื่องพระอุปคุต อันเป็นพระผู้รักษาพิธีต่างๆ ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นตังแต่ต้นจนจบ โดยเชื่อกันว่าในการทำบุญแต่ละครั้งจะมีมารเข้ามาขัดขวางทำลายพิธี ชาวพุทธจึงต้องนิมนต์พระอุปคุตมาร่วมพิธีด้วย เพื่อช่วยขจัดอันตรายต่างๆ และเกิดความสวัสดิมงคลอีกด้วย การนิมนต์พระอุปคุตจะเริ่มทำก่อนวันเทศน์มหาชาติหนึ่งวัน เรียกว่า "มื้อโฮม (วันสุกดิบ)" ในตอนบ่ายจะทำพิธีแห่พระเวสส์ (พระเวสสันดร) เข้าเมือง หลังจากนั้นจะนิมนต์พระอุปคุตมาสถิต ณ บริเวณพิธี โดยมีขบวานแห่ดอกไม้ ธูป เทียน ขันห้าหรือขันแปด ไปยังสระน้ำที่อยู่ใกล้ๆ แล้วผู้อาวุโสจะหยิบก้อนหินจากสระน้ำถาม 3 ครั้ง ก่อนจะนำหินมาสถิตๆ ไว้ยัง "หอพระอุปคุต" (สมมุติว่าหินนั้นเป็นพระอุปคุต) โดยกำหนดหอพระอุปคุตเป็นศาลเพียงตา หรือทำหิ้งบูชาอยู่ในมณฑลพิธี ซึ่งจะมีเครื่องบูชาต่างๆ ได้แก่ บาตรพระ, ขันห้าหรือขันแปด, ผ้าไตรจีวร, พานหมากและพานยาสูบ, ร่มกางกันแดด, น้ำดื่มและกระโถน วางไว้
บุณผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสองของชาวอีสาน แต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน ก็เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ ในตำนานฮีตสิบสอง ได้กล่าวถึงการทำบุญผะเหวด ไว้ว่า "ฮอดเดือน ๔ ให้พากันเก็บ ดอกจาน สานบั้งไม้ไผ่เสียบดอกจิก ..." ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไปของชาว อีสานว่า ดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือนสาม พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้ มาร้อยเป็นมาลัยเพื่อตกแต่งศาลาการเปรียญสำหรับบุญมหาชาตินี้เอง และในงานนี้ ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียว และบำเพ็ญคุณงามความดี จะได้อานิสงส์ ไปเกิดในภพพระอริยเมตไตรย์

ชาวอีสาน จะจัดทำบุญผะเหวด ปีละหนึ่งครั้ง ระหว่างเดือน ๓ เดือน ๔ ไปจนถึงกลางเดือน ๕ โดยจะมีวันรวม ตามภาษาอีสาน เรียกว่า วันโฮมบุญ พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลา หรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ เป็นที่เก็บข้าวพันก้อน และเครื่องคาวหวาน สำหรับ ผี เปรต และมาร รอบๆ ศาลการเปรียญจะแขวน ผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ ๑ ถึงกัณฑ์สุดท้าย การจัดงานประเพณีบุญผะเหวดที่ถือว่าจัดได้ยิ่งใหญ่ เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดต้องที่เมืองเกินร้อย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งจะจัดประเพณีบุญผะเหวดในช่วงสัปดาห์แรก ของเดือนมีนาคม ของทุกปี ในชื่องาน "กินข้าวปุ้น บุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ"
ชาวร้อยเอ็ดทุกหมู่เหล่า ได้จัดร้านข้าวปุ้น (ขนมจีน) พร้อมทั้งน้ำยาหลากหลายชนิด ให้ผู้มาร่วมงานได้กินฟรีตลอดงาน พร้อมจัดกิจกรรมการแข่งขันกินข้าวปุ้นเร็ว ชิงรางวัลเงินสด และถ้วยรางวัล
การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การประกวดดนตรีพื้นบ้าน การเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสน ส่วนภาคกลางคืน จะเป็นการแสดงแสง สี เสียง ตำนานพระเวสสันดรชาดก โขนจากกรมศิลปากรเรื่อง รามเกียรติ์ และหนังตะลุง ให้ชมฟรีตลอดทั้งคืนอีกด้วย บุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ คืองานมหากุศล ให้รำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือ ความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัว เพื่อผลคือ ประโยชน์สุขอันไพศาลของมวลชนมนุษย์ชาติ เป็นสำคัญ ดังนั้น บรรพชนชาวไทยอีสานแต่โบราณ จึงถือเป็นเทศกาล ที่ประชาชนทั้งหลายพึงสนใจร่วมกระทำบำเพ็ญ และได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบมา จนถึงอนุชนรุ่นหลังที่ควรเห็นคุณค่า และอนุรักษ์เป็นวัฒนธรรมสืบไป

ที่มา http://www.blogger.com/post-create

ภูมิปัญญาชาวอิสาน

| | 0 ความคิดเห็น

ภูมิปัญญาชาวอิสาน

ภูมิปัญญา หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมา ภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรความรู้ก็ได้ วันนี้จะเสนอภูมิปัญญาของฅนอีสานที่ล้ำยุคไปไกลทีเดียว เรื่องของกระติบข้าวและก่องข้าว ก่องข้าว และ กระติบข้าว เป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียวของชาวอีสาน ความแตกต่างของภาชนะทั้งสองอยู่ที่รูปทรง โดยก่องข้าวจะมีลักษณะคล้ายกระบุงมีฝาปิดและมีขาทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นฐานแยกสี่แฉก ดังภาพด้านซ้ายมือ มีความแข็งแรงทนทานมากกว่า การสานด้วยไม้ไผ่มีความแน่นหนา เก็บขอบด้วยหวายโดยรอบ ส่วนกระติบข้าวนั้นพบเห็นได้ทั่วไปเป็นภาชนะสานทรงกลมมีฝาปิด ฐานของกระติบจะทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีมากมายหลายขนาด การสานทำได้ง่ายกว่าก่องข้าวเพราะใช้ตอกไม่ไผ่ที่มีความบางอ่อนตัว (ก่องข้าวใช้ตอกที่ทำจากติวไม้ไผ่ (ส่วนผิว) ซึ่งมีความแข็งจึงสานยากกว่า) ทำให้กระติบข้าวมีความแข็งแรงน้อยกว่าก่องข้าว

ก่องข้าวและกระติบข้าว เป็นภาชนะในการเก็บอาหารที่ทรงคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบ หรือก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ ต่างจากกระติกน้ำแข็ง (ที่ดูเหมือนจะถูกนำมาใช้แทน ก่องข้าว หรือ กระติบข้าว ของพ่อค้าแม่ค้าขายข้าวเหนียวส้มตำในเมืองใหญ่) ที่จำเป็นต้องใช้ผ้าขาวบางรองอีกที ก่อนบรรจุข้าวเหนียว ถึงกระนั้นเม็ดข้าวที่อยู่ชิดรอบขอบกระติกก็ยังคงแฉะอยู่ดี ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีความห่าง (ช่องว่างระหว่างตอกสาน) เล็กน้อยเพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่องหรือกระติบข้าวได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่าเพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายใ
นกระติบ หรือก่องข้าว ยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะจึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่

ในกรณีของกระติบข้าวจะเห็นว่าฝาปิดและตัวกระติบจะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อยให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาล ขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ (ปัจจุบันนี้ใช้เชือกไนล่อน เพราะหาง่ายราคาถูกกว่า) ด้วยเทคนิคการสานจากภูมิปัญญาไทยนี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่ยอมรับและยังคงอยู่ตลอดมา สร้างรายได้ให้กับชุมชนในการสร้างงาน และยังสืบสานความรู้ของการจักสานไว้ เช่น ที่หมู่บ้านทุ่งนางโอก อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร (ผู้เขียนเคยไปถ่ายทำสารคดีเรื่องเครื่องจักสานที่นี่ ตอนนี้ยังหาภาพที่ถ่ายไว้ไม่พบ เห็นทีจะต้องย้อนไปอีกครั้งแล้วครับ)

การแต่งกายประจำภาคอิสาน

| | 0 ความคิดเห็น



ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ภาษาภาคนี้สำเนียงคล้ายภาษาลาว ซึ่งเรามักจะเรียกว่าเป็นภาษา “อีสาน” ภาษาอีสานเช่น เว้า (พูด) แซบ (อร่อย) เคียด (โกรธ) นำ (ด้วย) การแต่งกายส่วนใหญ่ใช้ผ้าทอมือ ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าไหม
ผ้าพื้นเมืองอีสาน
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็กทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ 2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาส
มาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มอีสานใต้ คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว

เซิ้งอิสาน

| | 0 ความคิดเห็น

ความเป็นมาของการฟ้อนและเซิ้ง

| | 0 ความคิดเห็น

ความเป็นมาของการฟ้อนและเซิ้ง

ดินแดนภาคอีสานร่ำรวยไปด้วยแหล่งอารยธรรม โบราณคดีหลากหลาย วิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในแถบนี้ มีแบบอย่างผสมกลมกลืนกันทั้งความเชื่อที่มาจากศาสนาพ ุทธ ฮินดู ภูติผีวิญญาณ ความเชื่อดังกล่าวเป็นคติความเชื่อที่มีความหมายต่อก ารดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งในระดับครอบครัว ระดับหมู่บ้านและระดับรัฐ จากข้อมูลท้องถิ่นด้านภาษา วรรณกรรม พิธีกรรม ตลอดจนแบบแผนในการดำรงชีวิตของชาวอีสาน โดยเฉพาะหลักฐานทางพุทธศาสนาไม่สามารถสนองตอบความต้อ งการทางใจ หรือสามารถเป็นที่พึ่งทางใจได้ในขณะที่เกิดภัยพิบัติ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ความแห้งแล้งอย่างสาหัส หนือเหน็บหนาวในหน้าเก็บเกี่ยว ชาวอีสานจึงหันไปพึ่งพาเทวดา ฟ้าดิน ภูติผี วิญญาณ อันได้แก่ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ตา ผีตาแฮก ตลอดจนผีมเหสักข์หลักเมืองแทน มูลเหตุแห่งความเชื่อว่า ธรรมชาติทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ผืนน้ำ พืช สัตว์ มนุษย์ อุบัติขึ้นในโลกด้วยอำนาจแห่งผีฟ้าหรือผีแถน ซึ่งในพงศาวดารล้านช้างกล่าวถึงชนกลุ่มแรกที่ออกมาจา กน้ำเต้าปุ้งว่าขุนทั้งสามคือ ปู่ลางเชิง ขุนเค็ก ขุนคาน ขออนุญาตต่อแถนเพื่อลากลับมาอยู่เมืองมนุษย์ตามเดิมโ ดยอ้างว่า "ข่อยนี้อยู่เมืองบน ก็บ่แก่น แล่นเมืองฟ้าก็บ่เป็น" พระยาแถนจึงอนุมัติให้อพยพลงมาอยู่ "นาบ่อนน้อยอ้อยหนู" และให้ควายลงมาไถนาด้วย ต่อมาควายตัวนี้ตายลงจึงเกิดเป็นต้นน้ำเต้าขึ้นที่ซา กของควายมีผลน้ำเต้าใหญ่มากผลหนึ่ง (ชาวอีสานเรียกว่า น้ำเต้าปุ้ง) เมื่อผลน้ำเต้านั้นโตเต็มที่ก็ได้ยินเสียงคนอยู่ในนั ้นเป็นจำนวนมากขุนทั้งสามจึงเอาเหล็กชีแดงเจาะรูเพื่อให้คนออกมา 2 รู คือ พวกไทยลมกับไทยผิวเนื้อดำคล้ำ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพวกข่า ขอม เขมรและมอญ แต่ยังมีคนเหลืออยู่ในน้ำเต้าปุ้งอีกขุนทั้งสามจึงหา สิ่วมาเจาะใหม่อีก 3 รู พวกที่ออกมารุ่นหลังนี้ไม่ถูกรมควันจากเหล็กชีจึงมีผ ิวกายขาวกว่าได้แก่ ไทยเลิง ไทยลอ ไทยคราว ซึ่งกลายมาเป็นบรรพบุรุษของคนลาว คนไทย คนญวณ ในภายหลัง จึงปรากฏในฮีตคองว่า

การฟ้อนรำพื้นบ้านอีสาน




กระติบข้าว หรือภาษาอีสานบางแห่งเรียกว่าก่องข้าว เป็นภาชนะใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียว ที่ทรงคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบหรือก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ (ต่างจากกระติกน้ำแข็งที่เก็บความร้อนได้แต่ไม่ยอมให้ไอน้ำระเหยออก ข้าวเหนียวจึงเปียกแฉะ)ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่การสานกระติบเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีตาห่างเล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวผ่านช่องว่างภายในกระติบข้าวชั้นในได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่าเพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบข้าว ยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ จึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่ ฝาปิดและตัวกระติบ จะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อยให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรอง ขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายหรือไนล่อนให้ติดกับตัวกระติบ


กระติบข้าว หรือภาษาอีสานบางแห่งเรียกว่าก่องข้าว เป็นภาชนะใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียว ที่ทรงคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบหรือก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ (ต่างจากกระติกน้ำแข็งที่เก็บความร้อนได้แต่ไม่ยอมให้ไอน้ำระเหยออก ข้าวเหนียวจึงเปียกแฉะ)ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่การสานกระติบเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีตาห่างเล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวผ่านช่องว่างภายในกระติบข้าวชั้นในได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่าเพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบข้าว ยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ จึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่ ฝาปิดและตัวกระติบ จะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อยให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรอง ขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายหรือไนล่อนให้ติดกับตัวกระติบ


คุณค่าของการฟ้อนพื้นเมืองคุณค่าทางด้านร่างกาย (Physical Values)การฟ้อนรำเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง เพราะการฟ้อนรำเป็นกิจกรรมของการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ลำตัว แขน ขาและมือ ให้ประสานเข้ากับจังหวะดนตรี การฝึกหัดการฟ้อนรำจึงช่วยการปรับปรุงทักษะของการเคล ื่อนไหว การทรงตัว ทำให้ได้ออกกำลังกล้ามเนื้อ และถ้าฝึกหัดจนเกิดความชำนาญแล้วก็สามารถควบคุมอวัยว ะทุกส่วนให้ประสานงานกันอย่างกลมกลืน ซึ่งหมายถึงการฟ้อนได้อย่างสวยงาม คุณค่าทางสังคม (Social Values)การฟ้อนเป็นกิจกรรมร่วมกันของชุมชน การได้ร่วมกันฟ้อนเช่นในงานบุญต่างๆ จะก่อให้เกิดความเป็นมิตร ซึ่งส่งผลให้เกิดความสงบสุขในชุมชน คุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural Values)การฟ้อนรำเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นเครื่องแสดงความเป็นอารยชาติ ชาติใดไม่มีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ชาตินั้นก็จะได้ชื่อว่าไม่มีความเจริญเป็นของตนเอง นอกจากนั้นศิลปวัฒนธรรมยังเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเกิดความภาคภูมิใจของชนในชาติ คุณค่าทางนันทนาการ (Recreational Values)การฟ้อนรำจะทำให้ได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของอารมณ์ หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน ดังนั้นชาวอีสานจึงนิยมจัดให้มีการฟ้อนรำหรือการละเล ่นเพื่อความสนุกสนานหลังจากการทำงานหรือในหลังฤดูการ เก็บเกี่ยว


ที่มา http://vdo.palungjit.com/video/87859/ลำเซิงใหม่mp4

คติความเชื่อโบราณของคนอิสาน

| | 0 ความคิดเห็น

ความเชื่อโบราณของคนอิสาน

อย่าเคาะจานข้าว
เวลารับประทานอาหาร โบราณท่านถือว่า ห้ามเคาะจานข้าว เพราะจะเป็นการเรียนวิญญาณที่พเนจร เมื่อได้ยินเสียงเราเคาะจาน ก็จะพากันมาแย่งเรากินข้าว กินอาหารคาวหวานท่านต้องเคยเห็นเวลาเราไหว้ศพ หรือไหว้วันสำคัญ เราจะจัดชุดสำหรับพวกผีไม่มีญาติ และทำพิธิเรียกมากิน โดยใช้การเคาะถ้วยชาม ดังนั้นผู้ใหญ่จึงถือมาก ห้ามลูกหลานเคาะจานชามเวลากินข้าว

กลางคืนห้ามกวาดบ้าน
การกวาดบ้านเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากของคนไทย แทบทุกบ้าน จะต้องกวาดบ้าน แต่…ในอเมริกาใช้การดูดฝุ่นแทน เพราะพื้นบ้านเขานั้นปูพรม จึงไม่มีคำโบราณห้ามไว้ว่า "ห้ามดูดฝุ่นตอนกลางคืน" แต่สำหรับคนไทยนั้น โบราณถือกันมาก "การกวาดบ้านกลางคืน" เพราะการกวาดบ้านตอนกลางคืนนั้นจะ "กวาดเงินกวาดทองออกจากบ้าน" แต่… จริงๆ ผมคิดว่า คนโบราณสอนให้ลูกหลาน ระวังของมีค่าจะถูกกวาดทิ้งไป เพราะกลางคืนสมัยก่อนมืดมาก ไม่มีไฟฟ้าใช้สว่างไสวเหมือนทุกวันนี้ งดได้ก็ดีนะครับ เพราะการกวนบ้านกลางคืนมันไม่เหมาะสมทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะกลางคืนเป็นเวลาพักผ่อน !!

เผาศพวันศุกร์

"วันศุกร์" เป็นวันแห่งโชคลาภ วันแห่งความร่มเย็นมีความสุข "วันศุกร์" จึงเหมาะแก่งานมงคลมากกว่า เช่น แต่งงานขึ้นบ้านใหม่ หรือฉลองพิธีต่างๆ จึงไม่นิยมจัดงานอัปมงคลกันในวันศุกร์ ดังนั้น….วันศุกร์ งดการเผาศุกร์ เพราะ…เป็นการให้ทุกข์กับคนเป็น ผู้คนส่วนมากจึงนิยมแต่งงานในวันศุกร์ และไม่มีงานเผาศพในวันศุกร์ "วัน"….ก็มีความสำคัญกับการดำรงชีวิตของมนุษย์.....

ที่มา
http://www.school.net.th/library/create-web

ประเพณีอีสานอีสาน

| | 0 ความคิดเห็น

ประเพณีอีสานอีสาน

ประเพณีของชาวอีสานมีความหลากหลายและมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ประเ
พณีส่วนใหญ่จะเกิดจากความเชื่อ ค่านิยม และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น และอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อคนในท้องถิ่น ประเพณีต่างๆถูกจัดขึ้นเพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพและเพื่อถ่ายทอดแนวความคิด ค่านิยมที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร เกิดจากการที่คนในท้องถิ่นนี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร เชื่อว่าการจุดบั้งไฟจะทำให้ผญาแถนดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม เพราะจังหวัดนี้ติดแม่น้ำโขงและใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงมาตลอด จึงอยากขอบคุณพระแม่คงคาประจำลำน้ำโขงที่ได้ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่สังคมริมฝั่งโขง ดังนั้นจึงจัดประเพณีไหลเรือไฟขึ้นมา งานบุญงานประเพณีต่างๆที่ชาวอีสานในท้องถิ่นต่างๆจัดขึ้นนับว่าเป็นสื่อที่ดีในการถ่ายถอดแนวความ ค่านิยม ความเชื่อ ศาสนา วิถีการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพของผู้คนในท้องถิ่นนั้นๆ

ภาษาอีสาน

| | 0 ความคิดเห็น

ภาษาอีสาน

ภาษาพูดของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นนั้นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไป ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใดรวมทั้งบรรพบุรุษของท้องถิ่นนั้นๆด้วย เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มีชายแดนติด กับเขมร สำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ทางด้านจังหวัด สกลนคร นครพนม มุกดาหาร หนองคาย เลย ที่ติดกับประเทศลาวและมีชาวเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ค่อนข้างมากก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่ง ชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆ ก็จะมีสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและยังคงรักษาเอกลักษณ์นั้นไว้ ตราบจนปัจจุบัน เช่น ชาวภูไท ในจังหวัดมุกดาหารและนครพนม ถึงแม้ชาวอีสานจะมีภาษาพูดที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาษาอีสานก็มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือ ลักษณะของคำและความหมายต่างๆ ที่ยัง คงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาค ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอีสานต่างท้องถิ่นกันสามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี ถ้าจะถามว่าภาษาถิ่นแท้จริงของชาวอีสานใช้กันอยู่ที่ใดคงจะตอบไม่ได้ เพราะภาษาที่คนในท้องถิ่นต่างๆใช้กันก็ล้วนเป็นภาษาอีสานทั้งนั้น ถึงแม้จะเป็นภาษาที่มีความแตกต่างกัน แต่ก็มีรากศัพท์ในการสื่อความหมายที่คล้ายคลึงกัน ในปัจจุบันชาวอีสานตามเมืองใหญ่ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นได้หันมาใช้ภาษาไทยกลางกันมากขึ้น เพราะวัยรุ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่ากับคนในภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร ทำให้ภาษาอีสานเริ่มลดความสำคัญลง เช่นเดียวกันกับภาษาพื้นเมืองของภาคอื่นๆ แต่ผู้คนตามชนบทและคนเฒ่าคนแก่ยังใช้ภาษาอีสานกันเป็นภาษาหลักอยู่ ทั้งนี้คนอีสานส่วนใหญ่จะสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสานของท้องถิ่นตนเองและภาษาไทยกลาง หากท่านเดินทางไปในชนบทของอีสานจะพบการใช้ภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไปดังที่กล่าวมาแล้ว แต่คนอีสานเหล่านี้โดยเฉพาะวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะสามารถสื่อสารกับท่านเป็นภาษาไทยกลางได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นชาวอีสานใหญ่จะเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อก่อนจะไปหางานทำเฉพาะหลังฤดูทำนา แต่ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเข้ากรุงเทพฯและทำงานที่นั่นตลอดทั้งปี ชาวอีสานที่ไปต่างถิ่นนอกจากจะหางานทำแล้ว ก็ยังมีการเผยแพร่วัฒนธรรมรวมทั้งภาษาของตนเองไปในตัว จะเห็นได้จากในปัจจุบันชาวไทยจำนวนมากเริ่มเข้าใจภาษาอีสาน ทั้งจากเพลงลูกทุ่งภาษาอีสานที่ได้รับความนิยมกันทั่วประเทศและจากคนรอบตัวที่เป็นคนอีสาน ทำให้ภาษาอีสานยังคงสามารถสืบสานต่อไปได้อยู่ถึงแม้จะมีคนอีสานบางกลุ่มเลิกใช้

ที่มา
http://student.nu.ac.th/isannu/isanculture/cultureindex.htm


อาหารการกินของชาวอีสาน

| | 0 ความคิดเห็น

อาหารการกินของชาวอีสาน

นอกจากการอยู่ที่เรียบง่ายแล้วการกินของชาวอีสานก็มีความเรียบง่ายเช่นกัน อาหารในแต่ละมื้อของชาวอีสานไม่ค่อยแตกต่างกันนักและมักจะมีเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างต่อมื้อ บางมื้ออาจจะมีเพียงน้ำพริกหรือที่ชาวอีสานเรียกว่า "แจ่ว"(ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำพริกปลาร้า) กับผักพื้นบ้านที่เก็บได้ริมรั้วบ้าน และอาหารที่ชาวอีสานนิยมรับประทานกันมากที่สุดนอกจากแจ่วแล้วก็คงจะเป็นส้มตำ ที่นิยมกินกันทั่วภาคอีสาน ส้มตำของชาวอีสานจะใส่น้ำปลาร้าเป็นเครื่องปรุงหลักโดยรับประทานส้มตำกับข้าวเหนียว และผักพวกกระถิน ถั่วผักยาว และผักอื่นที่หาได้ใกล้บ้าน เวลามีงานเทศกาล งานบุญหรืองานสังสรรค์ต่างๆ ชาวอีสานนิยมตำส้มตำเป็นอาหารหลัก การรับประทานส้มตำนั้นชาวอีสานเชื่อว่าต้องรับประทานหลายๆคนถึงจะอร่อย นี่เป็นเคล็ดลับหนึ่งในการผูกมิตรของชาวอีสาน(โดยใช้ส้มตำ) อาหารอื่นๆก็จะเป็นพวกแกงที่นิยมกันมากคือแกงหน่อไม้และแกงปลา และอ่อมเนื้อหรือกบเขียดปลาไก่(แล้วแต่ว่าจะมีอะไรในครัวมื้อนั้น) โดยชาวอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวกับอาหารทุกชนิด และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการปรุงอาหารของชาวอีสานก็คือปลาร้าหรือที่ชาวอีสานเรียกว่า "ปลาแดก"



ลักษณะการปรุงอาหารพื้นเมืองอีสานลาบ เป็นอาหารประเภทยำที่มีเนื้อมาสับละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า พริก ข้าวคั่ว ต้นหอม ผักชี รับประทานกับผักพื้นเมือง นิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ก้อย เป็นอาหารประเภทยำที่จะนำเนื้อย่างมาหั่นเป็นชิ้นๆผสมกับผักพื้นเมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ ทานกับผักสดนานาชนิด ส่า เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำหนังหมู เนื้อหมูย่างสับมาผสมกับหัวปลี วุ้นเส้น แซ หรือ แซ่ เป็นอาหารประเภทยำที่นำเนื้อสดๆมาปรุงนิยมใช้กับเนื้อวัวและหมู คล้ายๆลาบแต่มักใส่เลือดสดๆด้วย กินกับผักสดตามชอบ คนโบราณนิยมกินเพราะเชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง ปัจจุบันได้รับความนิยมเฉพาะในชนบทที่ห่างไกลอ่อม เป็นอาหารประเภทแกงแต่มีน้ำน้อยมีผัก พื้นเมืองหลายชนิดนิยมใช้กับเนื้อ ไก่และปลาหรือเนื้อกบเนื้อเขียดหรือเนื้อสัตว์อื่นๆแต่เน้นที่ปริมาณผักอ๋อ ลักษณะคล้ายอ่อมแต่ไม่ใส่ผัก(ใส่เพียงต้นหอม ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบแมงลัก) นิยมใช้ปลาตัวเล็ก กุ้ง หรือไข่มดแดงปรุง ใส่น้ำพอให้อาหารสุกหมก เป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยม ใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผักและหน่อไม้ หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิอู๋ คล้ายหมกแต่ไม่ใช้ใบตอง นิยมใช้กับเนื้อปลาโดยเฉพาะปลาตัวเล็กๆ กับพวกลูกอ๊อดกบหม่ำ คือ ไส้กรอกเนื้อวัวผสมตับ ตะไคร้และเครื่องเทศอื่นๆหม่ำขึ้ปลา มีลักษณะคล้ายปลาร้าชนิดหนึ่งรสชาติค่อนข้างเปรี้ยว หมักกับข้าวเหนียวแจ่ว คือ น้ำพริกของชาวอีสานนิยมใส่ปลาร้าสับหรือน้ำปลาร้า บางครั้งใส่มะกอกพื้นบ้านก็เป็นแจ่วมะกอก รับประทานกับผักสด ลวก หรือนึ่ง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทุกบ้านในภาคอีสาน เพราะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก ตำซั่ว เป็นอาหารประเภทส้มตำชนิดหนึ่ง แต่ใส่ส่วนประกอบมากกว่า คือ ใส่ขนมจีน ผักดอง ผัก(เหมือนที่ใส่ขนมจีน) และมะเขือลาย หรือผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย ผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย

บ้านเรือนของชาวอีสาน

| | 0 ความคิดเห็น


บ้านเรือนของชาวอีสาน
คนอีสานส่วนใหญ่จะมีวิถีชีวิตประจำวันที่เรียบง่ายไม่หวือหวาอะไร เวลาส่วนใหญ่จะหมดไปกับท้องทุ่งในฤดูทำนา หรือหมดไปกับการหาปลาในหน้าที่ปลาชุกชุม ด้วยเหตุที่ชาวอีสานส่วนใหญ่จะออกไปทำงานตามไร่นาหรือหาอาหารนอกบ้าน ไม่ค่อยมีเวลามาพิถีพิถันกับบ้านเรือนมากนัก สภาพบ้านเรือนของชาวอีสานจึงมีความเรียบง่ายแต่ก็มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ชาวอีสานส่วนหนึ่งโดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่นิยมที่จะอยู่ในกระท่อมริมทุ่งนามากกว่าที่จะมาอยู่ในหมู่บ้าน ทั้งนี้เพราะความสงบเงียบและอากาศที่เย็นสบายของท้องทุ่งช่างเหมาะแก่การพักผ่อนยิ่งนัก ในปัจจุบันชาวอีสานจำนวนมากสร้างบ้านหลังใหญ่โตตามวัฒนธรรมสมัยใหม่ บ้านส่วนใหญ่สร้างจากอิฐและปูน(และไม้บ้าง)โดยมุงหลังคาด้วยสังกะสีหรือกระเบื้อง ผิดกับในอดีตที่บรรพบุรุษชาวอีสานนิยมสร้างบ้านด้วยไม้ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะไม้ไผ่ที่นำมาทุบให้แตกแล้วเอาสร้างบ้านทั้งเป็นผนังบ้านและเป็นพื้นบ้านด้วยแล้วมุงหลังคาด้วยหญ้าแฝก หรือใบตองที่นำมาสานกับรางไม้ไผ่ ซึ่งทุกวันนี้เราสามารถหาดูบ้านที่มีรูปแบบเช่นนี้ได้เฉพาะในชนบทที่ห่างไกล หรือตามงานเทศกาลตามจังหวัดต่างๆที่จะมีการนำบ้านแบบดั้งเดิมมาจัดแสดงให้ผู้คนรุ่นหลังๆได้ชมกัน สาเหตุที่ทำให้บ้านแบบดั้งเดิมของชาวอีสานแทบจะหายไปจากภาคอีสาน ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะหาไม้จะมาสร้างบ้านได้ยากกว่าในอดีต และบ้านแบบดั้งเดิมก็ไม่ค่อยมีความทนทานต่อสภาพอากาศมากนัก ส่วนกระท่อมที่มักจะเรียกกันว่ากระท่อมปลายนา(ชาวอีสานเรียกเถียงนาน้อย)ยังคงหาดูได้ทั่วไปทุกจังหวัดในภาคอีสาน (หากท่านขับรถไปตามถนนในภาคอีสานท่านจะต้องได้เห็นกระท่อมปลายนาของชาวอีสานแน่นอน) แต่ชาวนาไม่ได้นอนในกระท่อมปลายนาเหมือนในอดีตแล้ว ชาวนาจะใช้กระท่อมนี้เป็นที่หลบฝน รับประทานอาหาร ผักผ่อนช่วงสั้นๆ และเก็บวัสดุอุปกรณ์ในการทำนา หลังจากนั้นในตอนเย็นก็จะกลับไปพักยังบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านและกลับมาอีกครั้งในตอนเช้า เพื่อทำนา บางครั้งอาจจะนอนที่กระท่อมปลายนาบ้างก็เฉพาะพ่อบ้าน(เพื่อเฝ้าวัสดุอุปกรณ์และผลผลิตทางการเกษตร)ส่วนแม่บ้านและลูกๆจะนอนที่บ้านในหมู่บ้าน

คนอีสาน

| | 0 ความคิดเห็น

คนอีสาน
ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เพราะมีพรมแดนอยู่ติดกับหลายชาติอีกทั้งมีการอพยพของประชาชนจากถิ่นอื่นๆทั้งในและนอกประเทศมาตั้งรกรากอยู่ภาคอีสานเป็นเวลานาน บวกกับประชากรที่อาศัยอยู่เดิมที่ก็มีความหลากหลายมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษแล้ว ทำให้ยิ่งมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ประชากรที่ของภาคอีสานมีหลายเผ่าพันธุ์ ที่มีมากที่สุดก็คงเป็นชาวไทอีสาน คือชาวคนอีสานที่พบได้ทั่วไป(ในอดีตคงหมายถึงชาวอีสานที่อาศัยอยู่ในเมืองหรือชุมชนใหญ่ๆ--ผู้เขียน) และพบมากที่สุดในภาคอีสานเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินอีสาน ชาวผู้ไทเดิมมาจากคำว่า พุไท หรือ วุไท ซึ่งหมาย ถึงคนเผ่าไทกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในแคว้นสิบสอง วุไท และอาณาจักรล้านช้างมีการเคลื่อนย้ายเข้ามาในภาคอีสานหลายครั้งและจากที่ต่าง ๆกันและแยกย้ายกันไปอาศัยอยู่ในส่วนต่างๆของพื้นดินอีสาน(ส่วนใหญ่เป็นอีสานตะวันออก) แถบจังหวัดสกลนคร นครพนม(ที่เด่นมากคือ ผู้ไทเรณู) และจังหวัดมุกดาหาร และชาวอีสานเผ่าอื่นๆอีกมากมายที่พบในเขตภาคอีสานซึ่งมีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองที่น่าสนใจเป็นอย่างยี่ง

ที่มา
http://student.nu.ac.th/isannu/isanculture/cultureindex.htm

ศิลปวัฒนธรรมอีสาน

| | 0 ความคิดเห็น

ศิลปวัฒนธรรมอีสาน

ดินแดนแห่งความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ที่ยังคงได้รับการสืบสานมาจากรุ่นบรรพบุรุษ และได้ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานรุ่นต่อๆไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ศิลปวัฒนธรรมประเพณีเหล่านี้คงอยู่คู่พื้นแผ่นดินอีสานตลอดไป ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามเหล่านี้ยังรอคอยให้ท่านเข้ามาเรียนรู้และสัมผัส ขอเชิญท่านมาสัมผัสและเรียนรู้ เศษเสี่ยวหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชาวอีสาน ได้ที่นี่ หากท่านต้องการความรู้มากไปกว่านี้ขอเชิญท่านไปเยี่ยมเยือนเรา ณ ภาคอีสาน แล้วท่านจะรู้ว่าภาคอีสานยังมีอะไรดีๆที่ท่านยังไม่รู้อีกมากมายให้ท่านได้ค้นหาตลอดทั้งปี ทั้งงานเทศกาลประเพณีพื้นเมืองที่แต่ละจังหวัดจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นตน และวิถีชีวิตของคนอีสานที่มีเสน่ห์น่าศึกษา


ศิลปะอีสาน

ศิลปะของชาวอีสานมีพัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆที่ค้นพบ ไม่ว่าจะเป็นที่อุทยานประวัติศาสตร์บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี หรือถ้ำผ่ามือแดง จังหวัดมุกดาหาร ฯลฯ (ซึ่งบางแห่งเชื่อกันว่ามีความเก่าแก่ที่สุดในโลก) ล้วนแสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของชาวอีสานรู้จักใช้งานศิลปะพวกภาพและสัญลักษณ์ต่างๆเป็นตัวสื่อความหมายมาเป็นเวลานาน และยังรู้จักเลือกใช้สีและวัสดุที่มีความคงทนสามารถทนต่อสภาพดินฝ้าอากาศและการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดีตราบถึงปัจจุบัน ที่ยังคงบอกเรื่องราวการดำเนินชีวิตของบรรพบุรุษของชาวอีสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี ซึ่งนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์หลายท่านพยายามศึกษาว่าคนยุคก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้ใช้สีที่ทำมาจากอะไรจึงสามารถคงทนได้นานเช่นนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถไขข้อสงสัยนี้ได้ เชื่อว่าในอนาคตไม่ช้านี้คงจะสามารถค้นพบความจริงที่เก็บซ่อนมาเป็นเวลายาวนาน และเมื่อถึงเวลานั้นเราอาจจะหันกลับไปใช้กรมวิธีเช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษของเราเคยใช้ หลังจากที่เราใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มานาน นอกจากนี้การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยก็นับเป็นหนึ่งในศิลปะที่ชาวอีสานภาคภูมิใจ บ้านเรือนของชาวอีสานสร้างสถาปัตยกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาดรุ่นบรรพบุรุษ เริ่มจากเถียงนาน้อย ค่อยๆกลายมาเป็นบ้านไม้ที่มีความคงทนถาวร จนในปัจจุบันเป็นบ้านก่ออิฐถือปูนเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ยังมีบ้านเรือนเป็นจำนวนมากที่ยังคงอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมอีสานโบราณไว้เป็นอย่างดี สถานที่ที่เราจะสามารถชมศิลปะแบบอีสานได้ดีที่สุดคือตามศาสนสถานวัดวาอารามต่าง ซึ่งถือเป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้คนในชุมชนมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล วัดวาอารามต่างๆล้วนได้รับการดูแลรักษาจากพระสงฆ์และคนในชุมชนเป็นอย่างดี ทำให้เป็นแหล่งสืบสานศิลปะอีสานที่มีมาแต่โบราณจนตราบถึงปัจจุบันยุคที่ผู้คนชาวอีสานเริ่มลืมศิลปะที่ดีงามของตัวเองไปแล้ว

วัฒนธรรมอิสาน

| | 0 ความคิดเห็น

วัฒนธรรมอิสาน

ภาคอีสานดินแดนแห่งอารยศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันทรงคุณค่า ดินแดนแห่งความหลากหลายทางเชื้อชาติศาสนากับมิตรภาพของผู้คน ที่ยังคงติดตาตรึงใจผู้มาเยือนอย่างมิรู้ลืม สถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่มีความงดงามเหมาะแก่การพักผ่อน โบราณสถานโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นจากฝีมือบรรพบุรุษชาวอีสาน ด้วยความประณีตบรรจง ดินแดนที่มีมนขลังนี้ยังคงเปิดประตูต้อนรับทุกท่านให้มาเยี่ยมเยือน และสัมผัสกับกลิ่นไอของความเป็นอีสาน สัมผัสกับวิถีชีวิตอันเรียบง่ายแต่คงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ ของความเป็นอีสานของชาวอีสาน เราให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาคอีสาน ทั้งข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์และด้านสังคมของภาคอีสานที่ท่านอาจยังไม่รู้ หรือท่านกำลังเสาะหาข้อมูลอยู่

ที่มา http://student.nu.ac.th/isannu/isanculture/cultureindex.htm

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์

| | 0 ความคิดเห็น







ปราสาทตาเหมือนโต๊ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ห่างจากบ้านตาเมียงตำบลปักได ประมาณ 12 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 214 อยู่ติดเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นปราสาทที่มีปรางค์ และก่อฐานด้วยหินทรายเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักษณะเดียวกันกับปราสาทบ้านพลว

ปราสาทภูมิโปน

ตั้งอยู่บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ ประกอบด้วยโบราณสถาน 4 หลัง ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และศิลาแลง 1 หลัง เป็นปราสาทแบบ ศิลปะเขมร ที่มีอายุ เก่าที่สุด ในประเทศไทย สร้างราว พุทธศตวรรษที่ 13 ปราสาทภูมิโปน ได้รับการขุด แต่งบูรณะ โดยกรมศิลปากร และได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นโบารณ สถานไว้เมื่อ วันที่ 8 มีนาคม 2478





ปราสาทบ้านพลวง

ตั้งอยู่ที่ บ้านพลวง ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 35 กิโลเมตร อยู่ใน เส้นทาง สาย ปราสาท-ช่องจอม เป็นปราสาทหินองค์เดียว ตั้งอยู่บนศิลาแลง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า องค์ปรางค์ ก่อด้วยศิลาแลง และหินทราย เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม ปราสาทบ้านพลวง เป็นปราสาทหินขนาดเล็ก ลวดลายสวยงาม สลักบนทับหลังหน้าบัน และผนังด้านหน้าปราสาท แห่งนี้ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน ไว้เมื่อ 8 มีนาคม 2478


ปราสาทเมืองที

ตั้งอยู่ตำบลเมืองที อำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวจังหงัด ประมาณ 15 กิโลเมตร ในเส้นทางสาย สุรินทร์-ศีขรภูมิ เป็นปราสาท ก่อด้วย อิฐฉาบปูน มี 5 หลัง สร้างรวมกัน เป็นหมู่ หลังหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง และอีก สี่หลัง อยู่ที่มุมทั้งสี่ ตั้งอยู่บน ฐานอันเดียวกัน ปราสาทแห่งนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด และกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานแห่งชาติ เมื่อ 8 มีนาคม 2478





ปราสาทยายเหงา

ตั้งอยู่บ้านสังขะ ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ เป็นศาสนสถานแบบขอม ที่ประกอบด้วย ปรางค์ 2 องค์ ตั้งเรียงกัน หันหน้าไปทิศตะวันออก ก่อด้วยอิฐ บนฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอิฐ เป็นลวดลาย เช่น ที่กรอบหน้า บันเป็นรูปมังกร (สร้างผสมระหว่างสิงห์ ช้าง และปลา) คาบนาค 5 เศียร ปราสาทแห่งนี้ สร้างขึ้น ในศิลปะแบบบายัน ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 18 กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อ 8 มีนาคม 2478

ปราสาทตาเมือน

ตั้งอยู่ที่ตำบลตาเมียง กิ่งอำเภอพนมดงรัก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 89 กิโลเมตร มีปราสาทอยู่ 3 หลัง แต่ละหลังอยู่ ห่างกันประมาณ 200 เมตร ตั้งอยู่บนแนวภูเขาบรรทัด สำหรับปราสทตาเมือนธม ซึ่งเป็นปราสาทหลัง ใหญ่ ประกอบด้ยปรางค์ 3 องค์ สร้างด้วยหินทราย หันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ ประธานมีลวดลาย จำหลักที่งดงาม สร้างใน ราวพุทธศตรวรรษ ที่ 16 ขณะนี้อยู่ ระหว่างการปรับปรุง บูรณะ


อนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีฯ

สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2527 เพื่อเป็นที่ระลึกถึง ผู้สร้างเมืองคนแรก ซึ่งเป็นบุคคล สำคัญอย่างยิ่ง ในประวัติศาสตร์ ของเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์นี้ ตั้งอยู่ที่ทางเข้า เมืองสุรินทร์ ทางด้านใต้ ตรงหลักกิโลเมตรที่ 0 ถนน สุรินทร์-ปราสาท เป็ฯบริเวณที่เคย เป็นกำแพงเมือง ชั้นในของ ตัวเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์ เป็นรูปหล่อทอง เหลืองรมดำสูง 2.2 เมตร มือขวาถือของ้าว อันเป็นการแสดงถึงความ เก่งกล้าสามารถของท่าน ในการบังคับช้างศึก และเป็นเครื่องแสดงว่า สุรินทร์เป็นเมืองช้าง มาแต่ดึกดำบรรพ์ รูปปั้นสะพายดาบคู่ อยู่บนหลังอัน หมายถึงความเป็นนักรบ ความกล้าหาญ อันเป็นคุณสมบัติที่ตกทอด เป็นมรดกของคนสุรินทร์ ในปัจจุบัน จังหวัดสุรินทร์ ได้ทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์แห่งนี้ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2522


วนอุทยานพนมสวาย

อยู่ห่างจาก ตัวจังหวัดประมาณ 22 กิโลเมตร ถ.สุรินทร์-ปราสาท ตั้งอยู่ที่ตำบล นาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นภูเขาเตี้ย ๆ มียอกเขา 3 ยอดที่เป็น ที่ประดิษฐาน พระพุทธสุรินทรมงคล ศาลาอัฏฐะมมุข พระพุทธบาทจำลอง สถูป บรรจุอัฐิหลวงปู่ดุลย์ ซึ่งชาวสุรินทร์ เคารพ นับถือ




ที่มา http://www.welcometosurin.4t.com/teaw1.htm

ประวัติจังหวัดสุรินทร์

| | 0 ความคิดเห็น

จังหวัดสุรินทร์ เป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีพื้นที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือทางภาคอีสานตอนล่าง (อีสานใต้) โดยจังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ มากกว่า 8,124 ตารางกิโลเมตร ซึ่งนับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่เป็น อันดับที่ 24 ของจังหวัด ทั้งหมดในประเทศไทย
จังหวัดสุรินทร์ เป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีประชากร อาศัยอยู่มากมายหลาย เผ่าพันธุ์ จึงมีภาษาพื้นเมืองอยู่มากมาย อาทิเช่น ภาษาไทย ภาษาอีสาน ภาษาส่วย ภาษากูย และภาษาเขมร เป็นต้น จังหวัดสุรินทร์ นั้นเป็นจังหวัดที่ได้มีชื่อเสียง ทางด้านการเลี้ยงช้าง มากที่สุดของประเทศไทย ดังกับคำขวัญของจังหวัดที่ว่า “สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม”
จังหวัดสุรินทร์ เป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีประวัติศาสตร์ และมีร่องรอย ความเจริญรุ่งเรือง ในเมื่อครั้งอดีต จากการปรากฏปราสาทขอมอยู่หลายแห่ง อาทิเช่น ปราสาทศีขรภูมิ ประสาทเมืองที ปราสาทยายเหงา ปราสาทภูมิโปน ปราสาทสินบ้านพลวง เป็นต้น สันนิษฐานกันว่าเมืองสุรินทร์ น่าจะสร้างขึ้นเมื่อราว 2,000 ปีมาแล้ว ในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจใน ภูมิภาคนี้


ที่มา
http://www.welcometosurin.4t.com/teaw1.htm

แผนที่จังหวัดสุรินทร์

| | 0 ความคิดเห็น


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ปัญหาความปลอดภัยในการใช้อินเตอร์เน็ต

| | 1 ความคิดเห็น




ปัญหาที่เกิดจากการบุกรุกและการโจรกรรม มีแนวโน้มที่จะมีมากขึ้นและมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันและกัน และมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนที่จะมีทั้งคนดีและคนร้ายที่แอบปะปนกัน...

ในช่วงระยะเวลาเดือน-สองเดือนที่ผ่านมา ข่าวคราวจากหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนได้ลงเรื่องราวเกี่ยวกับการโจรกรรม และปัญหา ที่เกิดจากแฮกเกอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ปัญหาที่เกิดจากการบุกรุกและการโจรกรรมมีแนวโน้มที่จะมีมากขึ้น และมีความรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกัน มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนที่มีทั้งคนดีและคนร้ายที่แอบปะปนมา ประจวบกับกิจการทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับ ความนิยม และมีผู้ใช้บริการซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตกันมาก มีการโอนรายการ หรือการส่งผ่านรหัสบัตรเครดิต เพื่อการซื้อขายสินค้าและบริการต่าง ๆ อีกทั้งข้อมูลหลายอย่างในอินเทอร์เน็ต และข้อมูลดำเนินการภายในองค์กร มีความสำคัญเป็นที่หมายปองของผู้บุกรุก เพื่อดำเนินการบางอย่างที่ผูกพันกับผลประโยชน์ต่าง ๆ



แฮกเกอร์ คือ บุคคลที่อยู่ในมุมมืด แอบแฝงเจาะด่านป้องกันต่าง ๆ ของระบบเครือข่ายและเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเป้าประสงค์ต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เข้าทำลายระบบและข้อมูลข่าวสาร เปลี่ยนแปลงแก้ไข ลักลอบคัดลอกข้อมูล ล้วงความลับ รวมถึงสร้างความปั่นป่วนให้กับวงการผู้ใช้ได้มาก
การดำเนินงานของแฮกเกอร์ มีเทคนิควิธีการที่เผยแพร่กันในกลุ่มแฮกเกอร์อยู่มาก ตั้งแต่การเจาะผ่านพอร์ตที่เปิดบริการ การยิงข้อมูล จำนวนมากผ่านพอร์ตบริการให้เกิดโอเวอร์โฟล์ว เพื่อเครื่องจะได้ทำงานผิดปกติ การฝ่าด่านเจาะรูโหว่ของระบบ เพื่อควบคุมระบบ และสามารถเข้าสู่การเป็นซูเปอร์ยูสเซอร์ของระบบ การดำเนินการยังนำเอารหัสผ่าน ซึ่งเป็นรหัสที่ผ่านการเข้ารหัสแล้วไปถอดด้วยโปรแกรมหรือเครื่องมือการถอดรหัส เพื่อให้ได้อักขระรหัสผ่านของผู้ใช้
สิ่งที่สำคัญคือ บนเครือข่ายมีข้อมูลไหลผ่านจำนวนมาก แฮกเกอร์สามารถวางโปรแกรมประเภท network monitor ที่คอยเก็บข้อมูลที่ผ่าน ไปมาบนเครือข่าย มาวิเคราะห์หารหัสผ่าน หายูสเซอร์เพื่อจะตามเข้าระบบทีหลัง โปรแกรมที่แฮกเกอร์วางไว้มีมากมายและแพร่หลาย การ ดักฟังข้อมูลวิธีนี้เป็นวิธีที่แฮกเกอร์ชอบดำเนินการ โดยเฉพาะการดักที่เกตเวย์สำคัญ การดักในเครือข่ายอีเทอร์เน็ตที่ข้อมูลมีลักษณะกระจาย (boardcast) จะได้ข้อมูลจำนวนมากมาทำการวิเคราะห์หารูรั่ว และตามเข้าระบบได้ภายหลัง

การวางโปรแกรมเจาะระบบอีกอย่างหนึ่งคือ ใส่ฝังมากับโปรแกรมแจกฟรีต่าง ๆ เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดโปรแกรมมา หรือรันโปรแกรมที่ได้มาจากอีเมล์ และเรียกรันโปรแกรม โปรแกรมประเภท network monitor หรือไวรัส หรือโทรจันฮอส จะออกมาฝังตัวแอบซ่อนอยู่ใน เครื่องไคลแอนด์ของผู้ใช้เฝ้าดูเครือข่าย วิเคราะห์และส่งข้อมูลกลับให้ผู้วางโปรแกรมนั้น
วิธีการที่แฮกเกอร์ใช้มีมากมาย เพราะทุกเส้นทางที่เปิดบริการ ทุกพอร์ตที่มีให้เข้าใช้บริการ เป็นจุดทางเข้าของแฮกเกอร์ได้ทั้งนั้น ดังนั้นพอร์ตหรือเส้นทางเข้าที่ไม่จำเป็น จึงไม่ควรเปิดไว้ แต่อย่างไรก็ตามบนอินเทอร์เน็ตต้องมีบริการต่าง ๆ เช่น การบริการเมล์ การบริการ FTP การบริการ telnet การบริการ Web ทุกการบริการจึงต้องมีระบบดูแลความปลอดภัย



ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่เกิดบนเครือข่ายคือ เมล์ขยะ หรือ spam mail เมล์ระราน เมล์โฆษณาขายสินค้า เมล์บอมบ์ ตลอดจนเมล์ที่เป็น จดหมายลูกโซ่ ปัญหาเหล่านี้นับวันจะรุนแรง เพราะเมล์บอมบ์ ทำให้ระบบเซิร์ฟเวอร์หยุดทำงานได้ หรือหากมีใครที่เป็นสมาชิกส่งเมล์ ถึงทุกคนในเซิร์ฟเวอร์ ปริมาณเมล์จะมากมายมหาศาลจนระบบอาจไม่ตอบสนองหรือหยุดการทำงานได้
สิ่งที่เป็นปัญหาเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่เว็บไซส์หลายแห่งได้รับคือ การโจมตีจากการเรียกใช้พร้อม ๆ กัน จนทำให้เซิร์ฟเวอร์ให้บริการไม่ได้ และหยุดการทำงาน การโจมตีลักษณะนี้จะเกิดขึ้นจากแฮกเกอร์เข้าบุกทำลายเครื่องบนเครือข่ายจำนวนมาก และแอบวางโปรแกรมไว้ ภายในเครื่อง พร้อมตั้งเวลาเพื่อส่งคำขอใช้ระบบไปที่เป้าหมายพร้อมกันจำนวนมาก ๆ จนทำให้เซิร์ฟเวอร์โอเวอร์โหลด



ข้อแนะนำเบื้องต้นในการใช้คอมพิวเตอร์
และเครือข่ายอย่างปลอดภัยมีดังนี้


- ผู้ใช้พึงระลึกและเข้าใจว่า นโยบายการรักษาความปลอดภัยขององค์กรเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นจึงควรให้ความร่วมมือกับองค์กร
และปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด
- ควรเปลี่ยนรหัสผ่านทุกเดือน
- ไม่ควรให้ข้อมูลใด ๆ กับผู้ที่ไม่รู้จัก โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย สำหรับนิสิตผู้ใช้ ไม่ควรให้ข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ของผู้ปกครอง หมายเลขโทรศัพท์กับบุคคลที่ไม่เคยรู้จักตัว

- ไม่ควรแชร์ Account ให้ใช้งานหลายคน
- รหัสผ่านควรต้องมีความยาวเกินกว่า 8 ตัว และจะต้องเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม ควรมีอักษรพิเศษร่วมอยู่ด้วย
- ไม่ควรดาวน์โหลดโปรแกรมจากแหล่งข้อมูลที่ไม่รู้จัก หรือถ้าได้รับโปรแกรมที่ส่งมาให้ทดลองจากคนไม่รู้จัก ไม่ควรที่จะเรียก รันบนเครื่องคอมพิวเตอร์

- หากมีนโยบายการใช้ proxy ควรใช้ proxy เพราะ proxy มีส่วนช่วยในเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยได้ทางหนึ่ง
- ในการ login ทุกครั้ง ให้ตรวจดูว่า ครั้งก่อนที่ login เป็นตัวเราเองหรือไม่ ถ้าพบผู้บุกรุกให้แจ้ง admin และผู้ดูแลระบบ ทราบทันที
- ไม่เปิดเครื่องที่ login ค้างไว้ โดยที่ตัวเองไม่อยู่ที่โต๊ะทำงาน
- ติดตั้งรหัสผ่านที่ BIOS และที่ระบบปฏิบัติการ
- หลีกเลี่ยงการใช้ ICQ หรือถ้าจะใช้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และเข้าใจ
- ควรมีการสแกนไวรัสอย่างสม่ำเสมอ
- ทำสำเนาข้อมูลไว้อย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ควรเก็บเมล์หรือเอกสารสำคัญไว้ในเมล์บ็อกในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ควรเก็บไว้ในเครื่องไคลแอนต์ของตนแลดูแลเฉพาะ
สิ่งที่สำคัญคือ เราต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกับระบบ และติดตามความเคลื่อนไหว โดยเฉพาะจะต้องปฏิบัติตนตามกรอบแห่งศีลธรรม จริยธรรมอย่างเคร่งครัด


"คุณมีความเข้าใจด้านความปลอดภัยในการใช้อินเตอร์เน็ตดีแล้วหรือยัง ?"ทุกวันนี้เราไม่เพียงแต่ใช้อินเตอร์เน็ตในการรับส่งอีเมล์เท่านั้น แต่ยังใช้ซื้อของ ชำระสินค้า โอนเงินผ่านธนาคารออนไลน์ และอื่นๆ ดูเหมือนว่าประตูที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้นจะพาเราท่องไปทุกแห่งในโลกได้ แต่อย่าลืมว่าประตูบานเดียวกันนี้ก็นำโลกทั้งโลกมาหาคุณโดยไม่รู้ตัวด้วยเช่นกันเรื่องต่อไปนี้จะช่วยให้คุณได้รู้ว่าที่ผ่านๆ มานั้นคุณเข้าใจและตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ดีแค่ไหน แล้วคุณจะประหลาดใจว่าคุณอาจจะเข้าใจอะไรผิดๆ ในบางเรื่องมาโดยตลอด


1. ฉันติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสเรียบร้อยแล้วคุณคิดถูกแล้ว....คุณต้องการระบบที่คอยป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ แต่แค่มีซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอเสียแล้ว เพราะไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ดังนั้นคุณจึงต้องหมั่นอัปเดตรายชื่อไวรัสใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ อีกประการหนึ่งแฮกเกอร์ก็ถือว่าเป็นภัยคุกคามเช่นเดียวกั
น และพวกซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสไม่สามารถป้องกันภัยคุกคามต่างๆ ที่แฮกเกอร์วางแผนจู่โจมได้ ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องการนอกเหนือจากซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสก็คือระบบไฟล์วอลล์ที่จะคอยหยุดยั้งไม่ให้แฮกเกอร์เจาะเข้าระบบเพื่อขโมยข้อมูลต่างๆ ออกไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้



2. เครื่องคอมพิวเตอร์ของฉันไม่มีข้อมูลอะไรน่าสนใจสำหรับแฮกเกอร์หรอกทุกคนเชื่ออย่างนั้นแต่หารู้ไม่ว่าแฮกเกอร์จ้องจะขโมยข้อมูลบางอย่างที่คุณคิดว่าไม่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น เลขประจำตัวบนบัตรประชาชน บัตรประกันสังคม หมายเลขบัญชีธนาคาร รหัสผู้ใช้ และรหัสผ่าน สิ่งเหล่านี้แฮกเกอร์สามารถนำไปใช้เพื่อซื้อของหรือทำธุรกรรมต่างๆ ในนามของคุณได้นั่นเอง คดีเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย และถึงแม้คุณคิดว่าไม่ได้เก็บข้อมูลเหล่านี้ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่รู้หรือไม่ว่าแค่คุณเก็บแฟ้มประวัติสำหรับใช้สมัครงาน คุณก็อาจจะตกเป็นเหยื่อของแฮกเกอร์ได้ เพราะมันจะนำข้อมูลเช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัตรประชาชนเพื่อนำไปสมัครบัตรเครดิตหรือกู้ยืมเงินได้ และนั่นหมายถึงความเดือดร้อนต่างๆ กำลังจะตามมาหาคุณในไม่ช้า

3. มีแต่บริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้นแหละที่แฮกเกอร์ตั้งเป้าจู่โจม ผู้ใช้งานตามบ้านอย่างเราไม่ใช่เป้าหมายของแฮกเกอร์หรอกหลายๆ คนมักคิดว่าฉันจะกังวลไปทำไม ในเมื่อฉันใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อเล่นเกมกับส่งอีเมล์เท่านั้นคุณอาจจะลืมไปแล้วว่าแฮกเกอร์มักจ้องหาเหยื่อที่โจมตีได้ง่าย และการเจาะเข้าระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ตามบ้านนั้นก็ง่ายกว่าการเจาะเข้าระบบองค์กรที่มีการป้องกันอย่างแน่นหนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณใช้บริการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต เพราะเครื่องของคุณจะออนไลน์ตลอดเวลา ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณจึงเป็นเป้าหมายที่โจมตีได้ง่ายที่สุด และกว่าคุณจะรู้ตัว เครื่องของคุณก็อาจจะโดนแฮกไปเรียบร้อยแล้ว

4. การเป็นแฮกเกอร์ต้องมีความรู้เทคนิคสูงๆเป็นความเชื่อที่ผิดมาก ในทางตรงกันข้ามคุณเชื่
อหรือไม่ว่าพวกแฮกเกอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านไอทีระดับอัจฉริยะเพื่อทำการเจาะเข้าระบบต่างๆ เลย เพราะเพียงแต่คุณค้นหาคำว่า “Hacking tools” ในเสิร์ชเอ็นจินต่างๆ คุณก็จะพบเครื่องมือและวิธีในการเจาะระบบที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีภายในเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้นเอง แถมบางเว็บไซด์ยังระบุวิธีการและขั้นตอนในการทำงานอย่างละเอียดมาให้เรียบร้อย

5. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่ฉันใช้อยู่มีระบบป้องกันไวรัสและไฟล์วอลล์มาให้เรียบร้อยโดยทั่วๆ ไปแล้วน้อยรายนักที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะให้บริการติดตั้งระบบป้องกันไวรัสที่สมบูรณ์แบบอย่างที่ผู้ใช้บริการเข้าใจ ถ้าไม่แน่ใจคุณอาจจะตรวจสอบกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตของคุณ และถึงแม้ว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะมีระบบป้องกันที่ดีแล้วก็ตาม คุณก็ยังจะต้องติดตั้งระบบป้องกันไวรัสไว้บนเครื่องของคุณอยู่ดี คุณอาจจะตั้งคำถามว่าทำไม ก็เพราะว่าเมื่อคุณเริ่มทำการออนไลน์ คุณมีความเสี่ยงที่จะดาวน์โหลดไวรัสลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ตั้งใจ

6. ฉันไม่ได้ใช้บริการบรอดแบนด์ แต่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดย dial-up จึงไม่ต้องกังวลว่าจะตกเป็นเหยื่อของแฮกเกอร์เป็นความจริงที่ว่าผู้ใช้บริการบรอดแบนด์จะมีความเสี่ยงสูงกว่า เพราะ IP Address จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เมื่อแฮกเกอร์รู้ มันจะเจาะเข้ามาได้ครั้งแล้วครั้งเล่า เหมือนกับว่ามันรู้ว่าคุณอยู่ที่ไหน ในขณะที่การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยการ dial-up นั้น IP Address จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่ถ้า
เมื่อใดก็ตามแฮกเกอร์สามารถเจาะเข้าไปในระบบของคุณได้ มันจะทำการฝังโปรแกรม Trojan ซึ่งจะทำการส่งสัญญาณกลับไปยังระบบของแฮกเกอร์ เมื่อใดก็ตามที่คุณทำการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต ดังนั้นถ้าระบบของคุณมีโปรแกรมตัวนี้ฝังอยู่ล่ะก็ไม่ว่าจะใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบบบรอดแบนด์หรือ dial-up ก็ไม่แตกต่างกัน


7. หายห่วงฉันใช้เครื่องแมคอินทอช ไม่ใช่วินโดวส์ผู้ใช้แมคอินทอชทั้งหลายมักรู้สึกปลอดภัย เพราะเจ้าไวรัสเกือบทุกประเภทถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งเป้าโจมตีไปที่ระบบแพลตฟอร์มวินโดวส์เป็นส่วนใหญ่ แต่สำหรับแฮกเกอร์แล้ว นี่ไม่ใช่ประเด็นเลย คอมพิวเตอร์ก็คือคอมพิวเตอร์เพราะมันไม่แคร์ว่าคุณจะอยู่บนแพลตฟอร์มใดปัจจุบันเครื่องมือในการเจาะเข้าสู่ระบบแมคอินทอชก็หาดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตได้ไม่ยากนัก แถมยังใช้ง่ายอีกต่างหาก ยิ่งกว่านั้นระบบปฏิบัติการใหม่ของเครื่องแมคอินทอชอย่าง OS X ก็เป็นระบบ Unix based ซึ่งทำให้เครื่องมือที่แฮกเกอร์ใช้เจาะเข้าสู่ระบบ Unix มาช้านาน สามารถใช้ได้กับเครื่องแมคอินทอชเช่นเดียวกันเป็นอย่างไรบ้างครับ คราวนี้คุณจะได้แน่ใจจริงๆ เสียทีว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นปลอดภัยจริงๆ อย่างที่คุณเข้าใจมาโดยตลอดหรือไม่ ถ้าไม่คุณจะได้รีบหาซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและระบบไฟล์วอลล์ที่สมบูรณ์มาติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้ทันท่วงที และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสำนึก และตระหนักด้านความปลอดภัยข้อมูลของเรา โดยต้องหมั่นสังเกต และตรวจสอบสิ่งผิดปกติโดยสม่ำเสมอ

ที่มา http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-8911.html

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต1

| | 0 ความคิดเห็น


ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่ง เข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหาร เครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูล ของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

อินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน

| | 0 ความคิดเห็น


ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ไอที (IT) กำลังได้รับ ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)จะเป็นตัวที่ทำให้ เกิดความรู้ วิธีการประมวลผล การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูล ตลอดจนการเรียกใช้ข้อมูล ด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิคส์ เมื่อเราให้ความสำคัญกับเ ทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ความจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือในการใช้งานไอที เครื่องมือนั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สื่อสารโทรคมนาคม อินเตอร์เน็ตนับว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือไอที เพราะเราสามารถที่จะใช้งาน หาข้อมูลข่าวสาร และเข้าถึงข้อมูล ได้ด้วยเวลาอันรวดเร็ว อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลเรื่องราวต่างๆ มากมาย ให้เราค้นหา ข่าวสารที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกเราสามารถที่จะทราบได้ทันที จึงนับได้ว่า อินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ทั้งในระดับองค์กรและในระดับบุคคล

ประวัติอินเตอร์เน็ต

| | 0 ความคิดเห็น


ประวัติความเป็นมา

อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้ง เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
http://www.krujongrak.com/internet/internet01.gif
| | 0 ความคิดเห็น


internet

| | 0 ความคิดเห็น

นางสาว เอมอร ดาศรี
50010211382

อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

| | 0 ความคิดเห็น

วิชาศึกษาทั่วไป